หนังสือวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจและมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันของเรา ในส่วนนี้จะเป็นรายการหนังสือที่เราเคยอ่านและสรุปเป็นบทความเรียบร้อยแล้ว
Circadian Rhythms: A Very Short Introduction
นาฬิกาชีวิต รอบเวลาที่เราใช้ชีวิตใน 24 ชั่วโมง

รู้จักนาฬิกาชีวิต ผลกระทบที่มีต่อชีวิตเรา ประโยชน์ที่เราได้รับจากการทำกิจกรรมโดยคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม
สิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์จาก Circadian Rhythms จะได้เปรียบคู่แข่งในการหาอาหาร หรือหากใช้จังหวะเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะทำให้หลบหลีกนักล่า และเอาตัวรอดได้ดี
นาฬิกาชีวิตไม่เพียงแค่กำหนดเวลานอนของเราเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อระบบการทำงานอื่นๆ ในร่างกาย เช่น กระบวนการเมตาบอริซึม การสร้างเซลล์ใหม่ และระบบภูมิคุ้มกัน
แสงสว่างจากหลอดไฟ การเดินทางข้ามประเทศ หรือการกินอาหารตอนดึกๆ ส่งผลกระทบต่อนาฬิกาชีวิต
การตรวจสอบจังหวะเวลา การรักษาโรคโดยปรับจังหวะเวลาให้ถูกต้อง ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด และเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด
อ่านต่อ
Circadian Rhythms นาฬิกาชีวิต 24 ชั่วโมง ปรากฏการณ์ธรรมชาติสุดมหัศจรรย์
เขียนโดย
Russell Foster
Leon Kreitzman
เป็นหนึ่งในหนังสือชุด The Very Short Introductions ของ Oxford University Press
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับ
- คนที่ต้องดูแลคนป่วยโรคหัวใจ
- นักกีฬาหรือโค้ชที่ต้องรู้จักเวลาที่เหมาะสำหรับการฝึกซ้อม
- คนที่ต้องทำงานกะดึก คนที่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่พอ
Wired to Grow: Harness the Power of Brain Science to Master Any Skill
Wired to Grow เป็นหนังสือที่จะช่วยให้เราดึงความสามารถที่แท้จริงของเราออกมา โดยการเข้าใจวิทยาศาสตร์การเรียนรู้ Neuroscience of Learning จะช่วยให้เราพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้ได้ดีที่สุด

การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่แค่การเรียนในชั้นเรียนหรือการฝึกอบรม แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรก็ได้ การรู้ตัว การเข้าใจ การพัฒนาทักษะและพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น การได้รู้มากขึ้น เชี่ยวชาญมากขึ้น
การเรียนรู้ทั้ง 3 ระดับ เริ่มต้นจากการเรียน การจำ และการทำให้เกิดเป็นนิสัย เราสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตจริงได้
การเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองเราก็เป็นหนึ่งในเทคนิคการเรียนรู้ Metacognition คือการรู้ว่าเรากำลังเรียนรู้อะไร หรือเรียนรู้ได้ยังไง แล้วเราจะพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของเรายังไงได้บ้าง
การเรียนรู้เราต้องตั้งใจและมีสมาธิ การเพิ่มความกระตือรือร้น การลดสิ่งรบกวน และการได้พัก จะช่วยให้เราจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีขึ้น
การทบทวนจะช่วยให้เราจำได้ดีขึ้น การทำซ้ำจะทำให้เกิดเป็นนิสัย และทำให้ความรู้นั้นติดตัวเรา ช่วยให้เราทำสิ่งนั้นได้โดยที่เราไม่ต้องใช้ความพยายาม
อ่านต่อ
ทักษะการเรียนรู้ ตอนที่ 1 เข้าใจแนวคิดหรือรูปแบบการเรียนรู้
ทักษะการเรียนรู้ ตอนที่ 2 จำสิ่งที่เราเรียนรู้ มันคงไม่มีประโยชน์ถ้าเราจำไม่ได้
ทักษะการเรียนรู้ ตอนที่ 3 ทำจนเกิดเป็นนิสัย ให้ความรู้มันติดตัวเราตลอดไป
เขียนโดย
Britt Andreatta
คนเดียวกันกับที่เขียนหนังสือ Wired to Resist: The Brain Science of Why Change Fails and a New Model for Driving Success
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับ
- คนที่อยากพัฒนาการเรียน อยากเรียนให้เก่งขึ้น
- คนที่อยากรู้การทำงานของสมอง
- คนที่อยากฝึกฝนการเรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้งาน
Brain Rules (Updated and Expanded): 12 Principles for Surviving and Thriving at Work, Home, and School
มนุษย์มีความสามารถในการปรับตัวสูง ทำให้เอาตัวรอดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ออกหาอาหารและสะสม มนุษย์พัฒนาความสามารถด้านการอ่านสีหน้าและเข้าใจเจตนาของคนอื่น พัฒนาการสื่อสาร การเจรจาต่อรอง

ความจำในสมองก็เปรียบเหมือนฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ และเราก็ใช้ซอฟต์แวร์จิตใจเพื่อนำความรู้นั้นมาแก้ปัญหา เราจะทำงานได้ดีในตอนที่เราได้รับแรงกระตุ้น ในตอนที่เรากล้าที่จะทำ
สมองของมนุษย์ เป็นระบบที่ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ ตามประสบการณ์ การฝึกและการเรียนรู้ การทำความเข้าใจการทำงานของสมอง การออกกำลังกายและนอนให้พอ และหลีกเลี่ยงความกดดันหรือความเครียดเรื้อรัง หัดใช้ประสาทสัมผัสหลายๆ ส่วน จะช่วยทำให้จำข้อมูลได้ดีขึ้น
ความสงสัยทำให้เกิดการเรียนรู้ เด็กที่กำลังโต จะมีความคิดเหมือนนักวิทยาศาสตร์ จะสงสัยและลองอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ ลองดูว่าทำแบบนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น สมองของเด็กจะยุ่งอยู่กับการเก็บข้อมูล และแนวคิดที่จะช่วยให้เด็กเข้าใจสถานการณ์ และสมองของผู้ใหญ่ก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ ทำให้เราทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
อ่านต่อ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมอง ฝึกสมอง เสริมปัญญา ทำให้เราใช้ศักยภาพสมองได้มากขึ้น
เขียนโดย
John Medina
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับ
- คนที่อยากพัฒนาการเรียน อยากเรียนให้เก่งขึ้น
- คนที่อยากรู้การทำงานของสมอง เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมอง
- คนที่อยากฝึกฝนการเรียนรู้ เราจะทำยังไงให้สมองเราทำงานได้ดีขึ้น