ดูแลตัวเอง

มะม่วง ผลไม้ที่ถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับหนึ่งของสุดยอดผลไม้

มะม่วง ผลไม้ที่ถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับหนึ่งของสุดยอดผลไม้ อ้างอิงจากหนังสือ Superfruits มะม่วงถูกจัดให้เป็นที่สุดของสุดยอดผลไม้ ตามการจัดอันดับของผู้เขียนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ (Paul Gross)

และถ้ามะม่วงเป็นสุดยอดผลไม้ ดังนั้นข้าวเหนียวมะม่วงก็ต้องเป็นสุดยอดของหวาน!!!

จากหนังสือ Superfruits ผู้เขียนได้กำหนดเกณฑ์ที่ใช้จัดอันดับของผลไม้ นั่นคือ จะต้องมีสารอาหารที่มีคุณค่าจำนวนมาก มีสาร Phytochemical จำนวนมาก เป็นผลไม้ที่หากินได้ง่าย มีการศึกษาหรืองานวิจัยรองรับจำนวนมาก มีผลการวิจัยและการค้นพบประโยชน์ทางสุขภาพ เช่น ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค หรือช่วยชะลอวัย

เกณฑ์การจัดอันดับสุดยอดผลไม้ของผู้เขียนคือ

  • คุณค่าทางโภชนาการในแง่ของความหลากหลายและปริมาณ สุดยอดผลไม้จะต้องอุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลายชนิด และสารอาหารบางชนิดจะต้องมีจำนวนมากด้วย
  • อุดมไปด้วยสาร Phytochemical ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบในพืช (สารพฤษเคมี) ถึงแม้จะยังไม่เข้าใจประโยชน์ได้ทั้งหมด แต่สารเหล่านี้มีความสำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย เช่น Carotenoids และ Polyphenols
  • มีงานวิจัยพื้นฐานรองรับมากมาย ซึ่งเป็นผลจากการวิจัยเรียนรู้ในห้องทดลองโดยนักวิทยาศาสตร์ เกณฑ์ที่ใช้คือ จำนวนของงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร และระยะเวลาของการวิจัย
  • งานวิจัยทางคลินิก เป็นตัวชี้วัดที่แสดงว่านักวิทยาศาสตร์เข้าใกล้ความจริงที่จะพิสูจน์ได้ ว่าสุดยอดผลไม้นั้นให้ประโยชน์ต่อร่างกายจริงๆ ทั้งในแง่ของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและการป้องกันโรค
  • ความนิยมในการบริโภค มันจะเป็นสุดยอดผลไม้ไม่ได้ ถ้าผลไม้ชนิดนั้นไม่อร่อย สุดยอดผลไม้จะต้องเป็นผลไม้ที่หาได้ง่ายๆ มีอยู่แพร่หลาย มีสีสันสดใสน่ากิน และมีรสชาติอร่อย

และเหตุผลที่ทำให้มะม่วงถูกจัดให้เป็นอันดับหนึ่งของสุดยอดผลไม้นั้นเพราะว่า มะม่วงมีโปรตีน มีพรีไบโอติกไฟเบอร์ มีแอนตี้ออกซิแดนท์ มีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย

มะม่วงมีสารประกอบที่พบในพืช (Phytochemical) เช่น แคโรทีนอยด์ (alpha-Carotene, beta-Carotene, beta-Cryptoxanthin, LuteinViolaxanthin) และ Polyphenols (Quercetin, Gallic acid, Gallotannin, Rhamnetin, CyanidinXanthone glycosides, Mangiferin)

อะไรทำให้มะม่วงสุดยอด

มะม่วงมีไฟเบอร์สูง มีวิตามิน A C B6 มีสารพฤษเคมีแคโรทีนอยด์และโพลิฟีนอล ใน 1 หน่วยบริโภคของมะม่วงมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะสารแอนตี้ออกซิแดนท์ มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย มีกรดอะมิโน และไขมันโอเมก้า

นอกจากเนื้อมะม่วงจะมีสารอาหารเยอะมากแล้ว หากกินทั้งเปลือกก็ยิ่งจะได้รับสารอาหารมากขึ้นไปอีก แต่คนส่วนใหญ่คงไม่กินเปลือกมะม่วงกัน อาจทำให้เกิดอาหารปากเปื่อยได้

ประโยชน์ของไฟเบอร์ได้แก่

  • ช่วยในการผลิตอินซูลิน ช่วยลดการดูดซึมกลูโคส ดีสำหรับคนเป็นเบาหวาน
  • ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ช่วยให้ลำไส้บีบตัวเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
  • ช่วยลดการสังเคราะห์และดูดซึมคอเลสเตอรอล
  • ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรค

สิ่งที่เกิดขึ้นหากร่างกายขาดวิตามิน A

  • ทำให้มีปัญหาเรื่องการมองเห็น
  • ทำให้บาดแผลหายช้า
  • ทำให้เกิดโรคผิวหนัง
  • ทำให้โครงสร้างกระดูกผิดปกติในเด็ก
  • ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ

งานวิจัยเกี่ยวกับวิตามิน A ซึ่งเป็นหนึ่งในสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (วิตามิน A C และ E) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านโรคและอาการเช่น

  • ความสามารถในการมองเห็นที่ลดลงเรื่อยๆ ในผู้สูงอายุ
  • มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือด
  • ปอดติดเชื้อและเกิดภาวะอักเสบ
  • โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
  • ริ้วรอยเหี่ยวย่น สิว และการเสื่อมของผิวหนัง

วิตามิน C เป็นผู้พิทักษ์สารพัดประโยชน์ เนื่องจากเป็นสารละลายในน้ำ ทำให้พบวิตามิน C ได้ในทุกส่วนของร่างกาย ทั้งในและนอกเซลล์ วิตามิน C ทำหน้าที่ปกป้องโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และวิตามินอื่นๆ ไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึม การสัมผัสควันบุหรี่ แสงยูวี และมลพิษ

หน้าที่หลักของวิตามิน C คือการรักษาธาตุเหล็กที่จำเป็นสำหรับเอนไซม์นับร้อยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิซึม วิตามิน A และ E ต่างก็ต้องพึ่งพาวิตามิน C ในการป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระไปทำลาย DNA หรือโครงสร้างเซลล์

งานวิจัยเกี่ยวกับวิตามิน C ซึ่งเป็นหนึ่งในสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (วิตามิน A C และ E) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านโรคและอาการเช่น

  • ความสามารถในการมองเห็นที่ลดลงเรื่อยๆ ในผู้สูงอายุ
  • โรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ภาวะหลอดเลือดแข็ง ความดันสูง
  • การก่อตัวของมะเร็ง
  • การอักเสบเรื้อรัง โรคกระดูกพรุน
  • ภาวะเลือดจาง
  • อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน

สารพฤษเคมี (Phytochemical) สารที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันเมล็ดพืช เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพืชจะสามารถขยายพันธุ์ได้ สารเหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคโรทีนอยด์ (มีประโยชน์ต่อสายตา) และโพลีฟินอล (ชื่อทั่วไปที่ใช้แทนสารประกอบสีสันต่างๆ หลายชนิดที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกัน เช่น Quercetin ที่กำลังวิจัยเกี่ยวกับความสามารถในการป้องกันมะเร็งและโรคอื่นๆ)

งานวิจัยต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับแคโรทีนอยด์เช่น

  • โรคทางสายตา
  • โรคเกี่ยวกับหัวใจ
  • มะเร็ง
  • โรคผิวหนัง
  • การอักเสบ
  • การติดเชื้อไวรัส

งานวิจัยต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับโพลีฟินอลเช่น

  • โรคอ้วนและกระบวนการเมตาบอริซึม
  • โรคกระดูกพรุนและภาวะการสูญเสียมวลกระดูก
  • มะเร็ง
  • แก่ก่อนวัย
  • โรคเกี่ยวกับหัวใจ
  • โรคทางสายตา

งานวิจัยในมะม่วง

มะม่วงเป็นผลไม้ที่มีการนำไปวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพเยอะมาก นับตั้งแต่ปี 1930 มีงานวิจัยที่ศึกษามะม่วงจำนวนมากถึง 750  ชิ้น และงานวิจัยในมะม่วงก็ครอบคลุมสารพัดสารอาหารทั่วไปที่จำเป็นต่อร่างกาย

มีงานวิจัยที่ใช้สารสกัดจากผลและต้นมะม่วงที่เรียกว่า Vimang ที่อุดมไปด้วยสาร Mangiferin จากผลที่พบในห้องทดลองพบว่า สามารถต่อต้านอาการโรคภูมิแพ้บางชนิด และลดอาการอักเสบลงได้

มีการทดลองที่พบว่า Vimang ช่วยเพิ่มความจำและพบว่าช่วยเพิ่มการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทของหนูด้วย

นอกจากนั้นยังพบว่าสาร Mangiferinในมะม่วงสามารถต่อต้านแบคทีเรียบางชนิดได้ การแปรงฟันด้วยสารสกัดจากมะม่วงช่วยเพิ่มสุขภาพทางช่องปากได้

มีงานวิจัยเกี่ยวกับ Lupeol โดยเฉพาะสารประกอบอินทรีย์ Terpene พบว่ามีผลช่วยลดการอักเสบ ลดอาการบาดเจ็บในข้อต่อ และช่วยป้องกันการถูกทำลายของ DNA

มากินมะม่วงกันเถอะ

เห็นมะม่วงมีประโยชน์มากมายขนาดนี้ก็ต้องกินเยอะๆ หน่อยแล้วล่ะ มะม่วงอบ มะม่วงกวน ไอติมมะม่วง ข้าวเหนียวมะม่วงอร่อยๆ สักจานคงจะช่วยอัดฉีดพลังงานให้กับร่างกายได้ดีทีเดียว

ที่สุดของสุดยอดผลไม้นั้นคือมะม่วง ผลไม้ที่มีอยู่แพร่หลายในโลก แหล่งกำเนิดของมะม่วงนั้นอยู่ในเอเชีย และแพร่หลายไปสู่ดินแดนต่างๆ ทั่วโลก มะม่วงจัดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่คนนิยมบริโภคมาก มะม่วงมีรสชาติอร่อย มีความหลากหลายทั้งในแง่ของสีสัน รสชาติ และขนาด มะม่วงมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง อ่านข้อมูลรายละเอียดที่น่าสนใจของมะม่วงได้ที่ mango.org

References

Superfruits

Mango.org

Major Mango Polyphenols and Their Potential Significance to Human Health

Mangiferin from Pueraria tuberosa reduces inflammation via inactivation of NLRP3 inflammasome

Mangifera indica extract (Vimang) impairs aversive memory without affecting open field behaviour or habituation in rats

Like what you read? Please share it with your friends so we can get their thoughts!

Previous ArticleNext Article

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *