แรงบันดาลใจ

พฤติกรรมการเสียสละ ทำไมบางคนถึงเสียสละได้มากกว่าคนอื่นๆ

ทำไมบางคนถึงยอมเอาชีวิตเข้าเสี่ยงเพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่รู้จัก หลังประสบอุบัติเหตุรถยนต์และรอดชีวิตมาได้จากการที่มีคนยอมเสี่ยงวิ่งข้ามถนนเพื่อไปช่วยเหลือ ทำให้ Abigail Marsh นักจิตวิทยาพยายามเข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมนี้

ในบทความนี้เราจะรู้ว่า สมองของคนโรคจิต (Psychopaths) คนที่จิตไม่ปกติไม่มั่นคงชอบใช้ความรุนแรง ต่างจากสมองของคนปกติทั่วไปยังไง ทำไมบางคนถึงมีพฤติกรรมการเสียสละมากกว่าคนทั่วไป และแนวโน้มของคนยุคใหม่ที่เริ่มเสียสละทำเพื่อคนอื่นมากขึ้น

ในตอนที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ Abigail Marsh ยังเป็นวัยรุ่น อายุเพียง 19 ปี เค้าได้รับการช่วยเหลือจากชายแปลกหน้าที่เสียสละ เอาชีวิตเข้าเสี่ยง ยอมจอดรถแล้ววิ่งข้ามถนนเพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่รู้จัก จากเหตุการณ์ในวันนั้นทำให้เค้าได้พยายามค้นหา พยายามทำความเข้าใจพฤติกรรมการเสียสละของชายแปลกหน้าคนนั้น

สมองของคนโรคจิตกับคนที่เสียสละ

คนที่มีพฤติกรรมการเสียสละมีอะไรที่ต่างจากคนทั่วไปบ้าง Abigail Marsh ได้ศึกษาลักษณะและพฤติกรรมของคนโรคจิต คนที่มีพฤติกรรมตรงข้ามกับคนที่เสียสละ และพบว่าคนโรคจิตจะมีสมองส่วน Amygdala ที่เล็กกว่าคนทั่วไปถึง 18-20% และนอกจากนั้นยังมีการตอบสนองน้อยกว่าคนทั่วไป

Amygdala เป็นสมองส่วนที่ทำให้เรารับรู้ความรู้สึกกลัว Amygdala ของคนที่เสียสละจะมีขนาดใหญ่กว่าคนทั่วไปถึง 8%

คนที่เสียสละจะทำเพื่อคนที่ไม่รู้จัก แบบเดียวกับที่เค้าจะทำให้คนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท เค้าจะไม่มองตัวเองเป็นศูนย์กลางของสังคม ทำให้ความใกล้ชิดไม่มีความสำคัญ ในสายตาของคนเสียสละ ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และสมควรได้รับความช่วยเหลือเหมือนกัน

พฤติกรรมการเสียสละเป็นพื้นฐานของมนุษย์เช่นเดียวกับความโหดร้าย

สิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัว

หลายคนเชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัว มียีนส์ที่เห็นแก่ตัวที่สืบทอดกันมา การแสดงออกถึงความกลัวบ่งบอกความต้องการและความเจ็บปวดทางอารมณ์ ทำให้ดึงความสนใจจากคนอื่นให้เห็นใจและช่วยเหลือ แต่สำหรับคนที่ขาดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มักจะไม่รู้สึกอะไรกับการแสดงออกนี้

หลายคนเชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัว แต่พฤติกรรมของคนที่เสียสละขัดแย้งกับความเชื่อนี้ โดยการเต็มใจเอาตัวเองเข้าเสี่ยงเพื่อช่วยเหลือคนอื่น สมองของคนเหล่านี้มีอะไรพิเศษกว่าคนทั่วไป Abigail Marsh กับเพื่อนนักวิจัยเริ่มค้นหาคำตอบด้วยการศึกษาคนที่ขาดพฤติกรรมเสียสละ คนที่ไม่คิดจะช่วยเหลือคนอื่นๆ คนที่มักจะใช้ความรุนแรง เค้าได้ศึกษาสมองของคนโรคจิตแต่ละคน และพบว่าคนเหล่านี้จะไม่สามารถเข้าถึงอารมณ์ของคนอื่น การแสดงออกทางอารมณ์ของคนอื่นจะไม่มีผลกับคนเหล่านี้ เป็นคนที่ไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกกลัวหรือความเศร้าของคนอื่น

การศึกษาสมองของคนที่บริจาคอวัยวะให้กับคนที่ไม่รู้จัก พบว่าคนที่มีพฤติกรรมการเสียสละจะสามารถรับรู้ถึงอารมณ์ ความเศร้าของคนอื่นได้ดี และมีสมองส่วน Amygdala ใหญ่และตอบสนองดีกว่าคนทั่วไปถึง 8%

คนที่เสียสละจะไม่มองตัวเองเป็นศูนย์กลางของสังคม ไม่ติดว่าตัวเองดีหรือพิเศษกว่าคนอื่นๆ

ขอบเขตของความมีน้ำใจ

คนส่วนใหญ่จะมีน้ำใจกับคนใกล้ตัว และเห็นความสำคัญของคนใกล้ตัวก่อน ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือเพื่อนที่สนิท คนที่เสียสละจะขยายขอบเขตของความมีน้ำใจนี้ออกไปยังคนที่ไม่รู้จัก คนเหล่านี้บริจาคอวัยวะให้คนอื่นที่ไม่รู้จัก เค้าเชื่อว่าตัวเองก็เหมือนคนปกติทั่วๆ ไป และไม่มองตัวเองเป็นศูนย์กลางของสังคม ดังนั้นจึงแทบไม่มีขอบเขตที่จะขัดขวางการแสดงออกถึงความมีน้ำใจ ในสายตาของคนเสียสละ ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และสมควรได้รับความช่วยเหลือเหมือนกัน

คนในสังคมเริ่มรับรู้ถึงความทุกข์ของคนอื่นมากขึ้น การลดความรุนแรงในหลายๆ ด้าน การบริจาคเลือดหรืออวัยวะ เป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป ซึ่งเป็นสิ่งที่หายากมากถ้าย้อนกับไปเมื่อ 100 ปีที่แล้ว พฤติกรรมการเสียสละเป็นสิ่งที่มีให้เห็นมากขึ้น เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน คนที่มีความเป็นอยู่ มีชีวิตที่ดี ก็เริ่มที่จะคิดถึงคนอื่นๆ มากขึ้น

การเสียสละมากขึ้นทำให้โลกน่าอยู่มากขึ้น แต่ก็อาจจะทำให้คนเสียสละรู้สึกว่า ทำไมโลกนี้ถึงได้มีคนทุกข์มากมาย

ทบทวน

สมองส่วน Amygdala ของคนโรคจิต (Psychopaths) จะมีขนาดเล็กและตอบสนองน้อยกว่าคนทั่วไป ส่วนคนที่เสียสละ Amygdala จะมีขนาดใหญ่และตอบสนองได้ดีกว่า ทำให้รับรู้อารมณ์ความกลัว ความเศร้าของคนอื่นได้ดีกว่าคนทั่วไป

ถึงแม้ว่าจะมีแค่บางคนเท่านั้น ที่มีความพิเศษ ที่จะเสียสละได้มากกว่าคนทั่วไป แต่เราทุกคนก็สามารถเรียนรู้ที่จะเอาตัวเองออกจากศูนย์กลางของสังคม และขยายขอบเขตของความมีน้ำใจออกไป ช่วยเหลือคนอื่นๆ รวมถึงคนที่ไม่รู้จัก

Reference

Why some people are more altruistic than others

Like what you read? Please share it with your friends so we can get their thoughts!

Previous ArticleNext Article

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *