แรงบันดาลใจ

ฝน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติและวัฒนธรรม

สำหรับบางคนฤดูฝนอาจเป็นช่วงเวลาที่ชื่นชอบมากที่สุด ฝนตกทำให้อากาศเย็นลง คืนความสดชื่น แต่สำหรับบางคนอาจเป็นช่วงเวลาที่ไม่ชอบมากๆ เพราะฝนที่ตกแบบไม่ทันตั้งตัวทำให้เปียก ฝนตกทำให้รถติด ทำให้พื้นลื่น เลอะ เปียกแฉะ

ลองนึกดูว่ามันจะเป็นยังไงถ้าเราไม่ได้อาบน้ำเป็นเวลานานๆ สำหรับต้นไม้ ฤดูฝน เป็นช่วงเวลาที่จะได้อาบน้ำ ได้ชำระล้างฝุ่นที่เกาะอยู่ตามเปลือกไม้หรือใบไม้ เผยให้เห็นสีเขียวของใบ คืนความสดใสให้กับป่า ฤดูฝนทำให้อากาศในเมืองสดชื่นมากขึ้น ฝนตกทำให้ฝุ่นควันลดลง ช่วยให้อากาศในเมืองดีขึ้น

ฝนตกทำให้เกิดเป็นแหล่งน้ำบนโลกของเรา แต่หลายครั้งเราก็ไม่อยากให้ฝนตก ตกบ้างแต่อย่าแรงมาก ตกให้พอดี ให้ชุ่มฉ่ำ ให้พืชพันธุ์ไม้ได้เติบโต อย่าตกแรงมากไปจนทำให้เกิดน้ำท่วม จนทำให้พืชไร่นาข้าวเสียหาย

ฝนตกเป็นช่วงเวลาที่เราได้พัก ได้หยุดคิดถึงอนาคต หยุดคิดถึงเรื่องวุ่นวาย แล้วแทนที่ด้วยเสียงฝนตก เสียงนก ปล่อยให้เม็ดฝนตกใส่มือสักหน่อย มันทำให้ใจลอยนึกถึงสิ่งที่ผ่านมา ทำให้นึกย้อนกลับไป มันจะเป็นยังไงถ้าหากกลับไปแก้ไขบางอย่างได้ แต่เม็ดฝนที่ตกใส่มือก็จะคอยเตือนให้เรากลับมาคิดถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ ฝนตกทำให้เราใกล้ชิดอยู่กับปัจจุบันมากที่สุด

มีหนังสือเล่มหนึ่งที่เกี่ยวกับฝน เป็นหนังสือแนวธรรมชาติและวัฒนธรรมที่บอกเล่าเรื่องราวของฝน ทำให้เรารู้จักคุณค่าของฝนที่บางครั้งมาพร้อมกับอำนาจทำลายล้าง ฝนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติและวัฒนธรรม ตลอดจนคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของเหตุการณ์แปลกๆ เช่น ฝนกบ ฝนปลา ฝนลูกกอล์ฟ

หนังสือ Rain: A Natural and Cultural History มีแปลเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า ประวัติศาสตร์หยาดฝน หาซื้อได้ตามร้านซีเอ็ด หรือ ร้านนายอินทร์

ฝนกระทบกับชีวิต ฝนก่อให้เกิดชีวิต และฝนก็ทำลายล้าง

ฝนที่ควรจะตกแต่ก็ไม่ตก ฝนน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นระยะเวลานานกว่าปกติ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ขาดน้ำ ทำให้ไม่เจริญเติบโตตามปกติ ทำให้เกิดความเสียหายและความอดอยากแร้นแค้น

ฝนช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น แต่ถ้าฝนหนักก็เกิดผลเสียได้เช่นกัน นอกจากจะทำให้พืชล้มเสียหายและน้ำท่วมพืช ยังทำให้ผิวดินแน่น ทำให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากการชะล้างของผิวดิน ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ช้า ทำให้พืชซึ่งใกล้จะเก็บเกี่ยวได้รับความเสียหาย ทำให้เกิดการระบาดของโรคและแมลง

ฝนบันดาลใจ เสียงฝนช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

ฝนเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปิน นักดนตรี นักแต่งเพลง นักเขียน เมืองเรคยาวิก ไอซ์แลนด์ เมืองหลวงที่ตั้งอยู่ใกล้กับขั้วโลกเหนือมากที่สุด เมืองที่มีสภาพอากาศมืดครึ้มและโอกาสที่ฝนจะตกสูง เมืองที่มีนักเขียนมากที่สุดในโลก

ในเวลาที่คิดอะไรไม่ออก ไม่มีสมาธิในการทำงาน บางครั้งเสียงคนคุยกันในร้านกาแฟ เสียงแก้วกระทบกันในอ่างล้างจาน เสียงเครื่องบดกาแฟเบาๆ ก็ช่วยกระตุ้นให้เราคิดไอเดียใหม่ๆ ได้ดี เสียงรบกวนเบาๆ เหล่านี้ช่วยเราได้เพราะ

  • ทำให้เราไม่ตั้งใจฟัง เสียงรบกวนมันจะไปรบกวนเสียงคนพูดคุย ทำให้เราฟังไม่รู้เรื่อง
  • ทำให้ไม่เงียบจนเกินไป ความเงียบดีสำหรับงานที่ต้องใช้สมาธิ แต่ไม่ดีในตอนที่เราต้องการคิดไอเดีย
  • ทำให้เราใจลอย คิดเรื่อยเปื่อย และนั่นก็ทำให้เราคิดไอเดียใหม่ๆ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้

เราไม่จำเป็นต้องออกไปร้านกาแฟ เพราะมีเว็บไซต์ที่ช่วยให้เรานั่งอยู่ในห้องส่วนตัวและฟังเสียงรบกวนได้ เช่น Hipstersound หรือ Coffitivity สำหรับบางคนอาจจะไม่ชอบเสียงการสนทนาพูดคุยกัน ก็ลองฟังเสียงฝนตกจากเว็บ Rainyscope ได้ หรือเปิดฟังพร้อมๆ กันทั้ง 3 เว็บเลย เพื่อเพิ่มระดับความไม่รู้เรื่องขึ้นไปอีก

ระดับเสียงที่ดังพอดีมีส่วนช่วยเกิดความคิดสร้างสรรค์ น้อยไปก็ไม่ได้ มากไปก็ไม่ดี ผลสรุปจากการศึกษาของ University of Chicago: Is Noise Always Bad? Exploring the Effects of Ambient Noise on Creative Cognition มีดังนี้

  • 50 เดซิเบลถือว่าน้อยไป
  • 70 เดซิเบลเป็นระดับที่พอดี
  • 85 เดซิเบลนั้นดังมากไป

ประวัติศาสตร์หยาดฝน

ฝนเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เป็นแหล่งที่มาของการสร้างชีวิต เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมในแต่ละอารยธรรม ฝนทำให้เกิดความกลัว ฝนทำให้เกิดแรงบันดาลใจ

ปกหลังของหนังสือแปล ประวัติศาสตร์หยาดฝน มีส่วนที่เราชอบ เขียนบอกไว้ว่า

ฝนผูกพันกับมนุษย์มาตลอดประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ฝนเป็นผู้สร้างอารยธรรม และขณะเดียวกัน ฝนก็พร้อมจะทำลายทุกอย่างให้สูญสลาย เมื่อละอองฝนบางเบาแปรเปลี่ยนเป็นพายุฝน ที่กวาดล้างทุกสรรพสิ่งในพริบตา

Like what you read? Please share it with your friends so we can get their thoughts!

Previous ArticleNext Article

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *