การพัฒนาตนเอง

ทัศนคติ ผิดๆ มีอะไรบ้าง รู้แล้วเราจะได้ระวัง ลดการคิดหรือใช้ทัศนคติแบบผิดๆ

มีทัศนคติผิดๆ ที่ทำให้เราเข้าใจผิด ทำให้เราตัดสินใจหรือทำงานผิดพลาดอยู่บ่อยๆ มาดูกันว่าทัศนคติผิดๆ มีอะไรบ้าง รู้แล้วเราจะได้ระวัง หลีกเลี่ยงหรือลดการคิดหรือใช้ทัศนคติแบบผิดๆ ลงบ้าง

เรากำลังพูดถึง Cognitive Distortions เสียดายที่ไม่มีเวลามากพอที่จะหาข้อมูล ทำให้ไม่รู้ว่าภาษาไทยเค้าใช้คำว่าอะไร นี่คือความหมายที่พอจะหาได้จากเว็บทั่วไป

  • กระบวนการคิดที่บิดเบือน
  • รูปแบบของความคิดที่ไม่เป็นจริง
  • การบิดเบือนการรับรู้
  • นิสัยในการคิดที่บิดเบี้ยว
  • รูปแบบความคิดที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติที่ทำให้คนหลีกหนีจากความเป็นจริง

เราไม่ได้ต้องการเน้นที่ความหมายของคำนะ แค่อยากให้เข้าใจง่ายๆ ว่า Cognitive Distortions มันคืออะไร จะมองง่ายๆ ว่ามันคือทัศนคติแบบผิดๆ ก็ได้ และที่เราเจอบ่อยๆ ก็เช่น

All-or-nothing thinking

ลองนึกถึงตอนที่เราตั้งใจคุมอาหาร พยายามงดของหวาน แต่เพื่อนชวนให้ชิมของหวานอร่อยๆ แล้วเราก็เกรงใจไม่ขัดเพื่อนเลย สุดท้ายก็ เอาวะ ไหนๆ ก็ได้กินละ กินให้หมดเลยละกัน วันนี้ขอสักวัน

ผ่านไป 4 วันแล้วที่ไม่ได้ออกกำลังกาย เหลือวันสุดท้ายเอาไงดี ความคิดเราคือ เกือบทั้งอาทิตย์แล้วที่ไม่ได้ออกกำลังกาย ไว้อาทิตย์หน้าเริ่มใหม่นะ วันศุกร์นี้ปาร์ตี้ดีกว่า

ในวันที่เราตื่นสาย คิดว่าต้องไปทำงานสายมากแน่ๆ ความคิดที่เกิดขึ้นคือ ไหนๆ ก็สายแล้ว ลาป่วยเช้าเลยละกัน และในที่สุดก็ ไหนๆ ก็ลาป่วยเช้าแล้ว ลาทั้งวันเลยละกัน

นี่คือทางเลือกที่เราต้องตัดสินใจ บางครั้งเราก็เลือกทำในสิ่งที่มันไม่เกิดประโยชน์ หรือทำให้เรื่องมันแย่ลง ร้ายกว่าเดิม

Catastrophizing

ความกังวลในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เวลาที่เราไม่พร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เช่น ต้องพูดนำเสนองานต่อหน้าคนเยอะๆ บางครั้งเรากลัวว่าเราจะพูดได้ไม่ดี ลืมบทพูด พูดสลับไปมา กังวลว่าคนอื่นจะไม่เข้าใจ

นี่คือสิ่งที่เราเจอกันบ่อยๆ ความกังวลที่มากเกินไป เกิดจากการที่ไม่มีความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ ขาดประสบการณ์หรือขาดความมั่นใจ ส่งผลให้เกิดความกลัวว่าผลมันจะออกมาแย่ ทำให้เราหรือทีมเสียหน้า

Overgeneralization

การที่เราด่วนสรุปเรื่องบางอย่างจากหลักฐานเพียงชิ้นเดียว ทำให้เกิดทุกข์ที่ไม่จำเป็น เช่น ได้รับแจ้งผลสัมภาษณ์งานว่าเราไม่ผ่าน เราก็อาจคิดว่าหางานเป็นเรื่องยากมาก คงต้องตกงานไปอีกหลายเดือน ผลที่เกิดคือเราท้อแท้

การที่เราสมัครคัดเลือกนักกีฬาแล้วเราไม่ผ่าน เพียงแค่ครั้งเดียวที่เราผิดหวัง เราก็อาจจะเลิกสนใจเล่นกีฬาไปเลยก็ได้

การที่เราลืมนัดสำคัญครั้งหนึ่ง ทำให้อีกฝ่ายเข้าใจว่าเราเป็นคนไม่สนใจ เป็นคนไม่รักษาสัญญาไปตลอดเลยก็ได้

สิ่งนี้เกิดขึ้นกับเราได้ง่ายมาก และส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดทั้งนั้น และยิ่งถ้าสิ่งที่ทำให้ผิดหวังมันกระทบกับอารมณ์มาก มันก็ยิ่งส่งผลให้เราเข้าใจผิดๆ ได้ง่ายขึ้นอีก

สิ่งที่จะแก้ไขได้คือ เราต้องคิดแบบมีเหตุผล ต้องหาเหตุผลให้ได้ว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้น มันเป็นเพราะอะไร แล้วเราค่อยหาทางเปลี่ยนหรือแก้ไข แล้วพยายามใหม่ หรือให้โอกาสกับตัวเองหรือคนอื่นอีกครั้ง

Mental filtering

เรามัวแต่สนใจสิ่งที่เราทำพลาด พยายามหาข้อบกพร่อง แต่กลับลืมความจริง ลืมไปว่าเราทำคะแนนสอบได้ 29/30

สมองเรามักจะพุ่งไปยังสิ่งที่มันค้านกับความเชื่อของเรา ลูกค้ารีวิวสินค้าให้คะแนนเรา 1 ดาว เราก็พยายามมากเหลือเกินที่จะแก้ไขมัน เอารีวิวนี้ออกไป แล้วเราก็ลืมไปว่ามีอีกหลายคนที่ให้คะแนนเรา 5 ดาว

Labeling

เกิดขึ้นเมื่อใจเราติดอยู่กับเรื่องราว คน หรือสถานการณ์บางอย่าง เช่น เราพูดหรือเสนอบางอย่างที่มันดูตลกต่อหน้าผู้คน แทนที่เราจะคิดว่าเราเพิ่งทำผิดพลาด แต่ในใจเรากลับคิดว่าไม่น่าเลย รู้แบบนี้ไม่พูดดีกว่า

Personalization and blaming

เกิดขึ้นเมื่อใจเราหาคนผิด เรารู้สึกแย่ที่เพื่อนไม่ชอบบทความที่เราแนะนำให้อ่าน ในใจเราคิดว่าไม่น่าเลย ต่อไปจะไม่แนะนำให้อ่านอีกแล้ว ใจเราตัดสินโดยอ้างอิงจากตัวของเราเอง ของบางอย่างเราชอบแต่คนอื่นไม่ชอบก็มี

หรือสามีภรรยาต่างโทษอีกฝ่ายที่ทำให้ครอบครัวแตกแยก โดยไม่นึกถึงเลยว่าปัญหาอาจจะเกิดจากตัวเอง

ทัศนคติ ผิดๆ ยังมีอีกเยอะ

มันคงจะเป็นบทความที่ยาวมากๆ เลย ถ้าเราจะเขียนให้ครบทั้งหมด ยังไงลองไปอ่านต่อใน Wikipedia เองได้เลย สำหรับ Cognitive Distortions ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เช่น

  • Polarized Thinking
  • Jumping to Conclusions
  • Personalization
  • Control Fallacies
  • Fallacy of Fairness
  • Shoulds
  • Emotional Reasoning
  • Fallacy of Change
  • Always Being Right
  • Heaven’s Reward Fallacy

ทัศนคติ ที่ไม่เกิดประโยชน์

ไม่ใช่แค่ทัศนคติผิดๆ แต่ชีวิตเรายังต้องเจอกับทัศนคติที่ไม่เกิดประโยชน์ ไม่ว่าสิ่งที่เราคิดมันจะถูกหรือผิด มันก็ไม่เกิดประโยชน์ คิดไปก็ไม่ได้อะไรดีๆ เกิดขึ้นมา เช่น รถติดบนทางด่วนระหว่างทางไปออฟฟิส ความคิดเราคือ วันนี้สายแน่ๆ คงไปไม่ทันประชุม วันนี้มันต้องแย่สุดๆ

สิ่งที่เราคิดมันคือความจริง รถติดทำให้เราไปทำงานสาย ไปไม่ทันนัดประชุม มันต้องแย่แน่นอนอยู่แล้วล่ะ แต่สิ่งที่เราคิด มันไม่เกิดประโยชน์เลย มันมีผลเสียต่ออารมณ์ของเรา มันทำให้เราเกิดความกังวล สับสนโดยไม่จำเป็น

ปรับทัศนคติ

เราสามารถปรับทัศนคติผิดๆ หรือที่ไม่เกิดประโยชน์ได้ง่ายๆ เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจความคิดของเราในขณะนั้น จากนั้น คิดต่าง พยายามคิดหาทางเลือกอื่นๆ เพื่อท้าทายความคิดแรกที่มันเกิดขึ้นก่อน

ทำความเข้าใจความคิด

สิ่งแรกเลยที่ต้องเข้าใจคือ อย่าพยายามหยุดความคิด เราไม่สามารถหยุดหรือควมคุมมันได้ ความคิดเราเป็นร้อยเป็นพันที่เข้ามาในหัวเราในแต่ละชั่วโมง ปล่อยให้มันไหลเข้ามา เช่น ถ้าเรารู้สึกแย่ที่เสนอไอเดียออกไป คิดว่าทำไมเรามันโง่งี่เง่าแบบนี้ ต่อไปจะไม่เสนออะไรอีกแล้ว สิ่งที่เราคิดมันมีผลกระทบต่อเรามาก เราควรจะทำความเข้าใจความคิดของเราใหม่ พยายามหาข้อมูลเพิ่ม เช่น ถ้าเราเสนอไอเดียที่ไม่ดีออกไป แล้วมันเกิดอะไรขึ้นบ้าง มันทำให้เราเสียหน้าหรือเปล่า มันทำให้คนอื่นๆ มองเราในทางไม่ดี หลังจากนี้มันมีผลกระทบกับงานยังไงบ้าง

ท้าทาย ความคิด

หลังจากที่เราเข้าใจความคิดของเราแล้ว ต่อไปต้องจับเพื่อเปลี่ยนความคิด แทนที่เราจะคิดว่า ต่อไปนี้เราจะไม่เสนอไอเดียอะไรอีกแล้ว ยังไงซะเราก็ไม่สามารถหยุดเสนอไอเดียได้อยู่แล้ว เป็นไปไม่ได้ที่เราจะนั่งนิ่งเงียบในที่ประชุมโดยที่ไม่พูดอะไร ยิ่งเราเงียบมันยิ่งทำให้เราดูโง่กว่าเดิมอีก เพราะเราจะกลายเป็นคนไม่มีประโยชน์ สุดท้ายยังไงเราก็ต้องออกความเห็น ความกลัวที่เราจะเสนอไอเดียที่ทำให้เราดูโง่มันไม่จริงเสมอไป มันไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา

คิดต่างเพื่อ เปลี่ยนทัศนคติ

สุดท้ายถ้าเราคิดได้แล้ว เราจับหรือเปลี่ยนความคิดของเราได้ เราจะรู้สึกถึงอารมณ์ที่เปลี่ยนไป ถามตัวเองตอนนี้เรารู้สึงยังไงบ้าง เรามีทางเลือกอื่นๆ อะไรอีกบ้าง การเปลี่ยนความคิดของเราทำให้สุดท้ายเปลี่ยนพฤติกรรมของเราได้

ถ้าเราเริ่มคิดได้ เราปล่อยวาง เช่น ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะเสนอไอเดียที่แย่ๆ ออกไป แต่มันคงจะมีบ้างแหล่ะที่คนอื่นจะไม่เห็นด้วยกับไอเดียของเรา

สิ่งที่เราต้องทำคือ ต้องทำยังไงเราถึงจะเสนอไอเดีย แล้วโอกาสที่คนอื่นๆ จะยอมรับมันมากขึ้น ทำยังไงถึงจะมีไอเดียที่มีประโยชน์ เราต้องระลึกอยู่เสมอว่าเราต้องปรับปรุงตัวเราเอง เราต้องทำงานหนัก เรียนรู้เยอะๆ ต่อไปเราจะได้มีไอเดียที่ดีๆ

อย่าเพิ่งแทนที่ความคิดแง่ลบด้วยการ คิดบวก

แต่จงคิดโดยยึดหลักความเป็นจริงที่เกิดขึ้น มองสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ถ้าเราคิดว่า ต่อไปเราต้องเสนอแต่ไอเดียที่ดีๆ เท่านั้น ต่อไปทุกคนต้องเห็นด้วยกับความคิดของเรา การคิดแบบนี้มันจะทำให้เรายึดติด หรือเกิดความกังวลมากไป

หาทางเลือกที่เหมาะสม เราจะเจอสิ่งที่อยู่ตรงกลางระหว่าง เราต้องเสนอแต่ไอเดียที่ดีๆ กับ ปล่อยวางมันไป สิ่งที่อยู่ตรงกลางมันมีความเหมาะสมมากกว่า มันมีประโยชน์กับเรามากกว่า อย่าฝืนบังคับตัวเองให้คิดบวกทันที เพราะมันอาจจะเกิดผลในทางตรงข้าม

Like what you read? Please share it with your friends so we can get their thoughts!

Previous ArticleNext Article