
Sir Ken Robinson พูดถึงระบบการศึกษาแบบมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เป็นตัวการทำให้เกิดวิกฤตทรัพยากรบุุคคล ที่ร้ายแรงไม่ต่างจากวิกฤตโลกร้อน และเราต้องปฏิวัติระบบการศึกษาอย่างเร่งด่วน
วิกฤตทรัพยากรบุุคคลทำให้เราต้องปฏิวัติระบบการศึกษา เพราะลำพังการแก้ไขปรับปรุงระบบที่ใช้ในปัจจุบันมันไม่เพียงพอ
อุตสาหกรรมการศึกษา
ระบบการศึกษาในปัจจุบันเป็นแบบ อุตสาหกรรม ที่ใช้แนวคิด เส้นทางตรงไปสู่ความสำเร็จ
กระบวนการผลิตทรัพยาการบุคคลจะเป็นแบบลำดับขั้นตอน ส่งต่อกันไป ในแต่ละขั้นตอนก็จะใช้แบบทดสอบเดียวกัน เพื่อผลิตคนที่มีมาตรฐานเดียวกัน หลักสูตรเดียวกันที่ทุกคนต้องผ่าน ปูทางไว้สำหรับทุกอย่าง
ระบบการศึกษาแบบนี้ไม่สามารถช่วยให้แต่ละคนค้นหาความสามารถเฉพาะตัว แต่มันทำให้เกิดสังคมที่คนทำงานไปวันๆ รอให้ถึงวันหยุด น้อยคนที่จะรักและทุ่มเทกับงานของตัวเอง
ปฏิวัติระบบการศึกษา
เราต้องปฏิวัติระบบการศึกษา เปลี่ยนรูปแบบการผลิตทรัพยากรบุคคล จากเดิมที่เป็นแบบอุตสาหกรรม และเปลี่ยนมุมมองต่อการเรียนรู้ใหม่ การเรียนรู้มันควรจะคำนึงถึงพื้นฐานที่แท้จริงของธรรมชาติของแต่ละคน
พัฒนาการเรียนรู้ของคนมันไม่ได้เป็นเส้นตรง เราพูดไม่ได้ว่าเด็ก 6 ขวบ มีการเรียนรู้ 2 เท่าของเด็ก 3 ขวบ
ดังนั้นแทนที่จะใช้หลักสูตรเดียวกัน โรงเรียนแต่ละแห่งควรจะปรับหลักสูตรให้เข้ากับความสามารถและความสนใจของเด็กแต่ละคน
โลกร้อนไม่ใด้เป็นวิกฤตเดียวที่เรากำลังเผชิญ แต่ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ ก็เป็นปัญหาใหญ่เช่นกัน ระบบการศึกษาที่ใช้ในปัจจุบันทำให้แต่ละคนไม่รู้จักค้นหาและพัฒนาความสามารถเฉพาะตัว ผลที่เกิดขึ้นคือแต่ละคนก็จะทำงานไปวันๆ รอวันหยุด น้อยคนที่จะรักและทุ่มเทกับงานของตัวเอง
การปรับระบบการศึกษามันไม่พอที่จะแก้ไขวิกฤตนี้ วิวัฒนาการหรือการปรับเปลี่ยนให้ได้ผลมันต้องใช้เวลานานมากเกินไป ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือต้องปฏิวัติระบบการศึกษา เราต้องการระบบการศึกษาแบบใหม่ เราต้องทิ้งแนวคิดเดิมๆ ที่มีต่อการเรียนรู้ แนวคิดเดิมๆ ที่เรานำมาใช้และทำตามกันมา ไม่คิดจะทำอะไรใหม่
อนาคตของสังคมเราขึ้นอยู่กับความหลากหลายของคนที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไม่ใช่คนที่มีมาตรฐานเดียวกัน
ระบบการศึกษาในปัจจุบันเป็นรูปแบบที่ใช้แนวคิดเดียวกันกับอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน ผลิตออกมาให้เร็วที่สุด เพื่อให้ใช้งานได้ทันเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมและใช้งานได้ดีในยุคหนึ่ง แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเตรียมทรัพยากรบุคคลโดยใช้แนวคิด รูปแบบเดิมๆ ที่ใช้แก้ปัญหาใน 50 ปีที่แล้ว และหวังจะนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาในอนาคต
เตรียมเข้าเรียนมหาวิยาลัยตั้งแต่อนุบาล
ระบบการศึกษาแบบเส้นทางตรงสู่ความสำเร็จ ที่ผลักดันให้ทุกคนเข้าเรียนในมหาวิยาลัย พ่อแม่บางคนปูทางให้ลูกไว้ตั้งแต่เด็ก การได้เข้าเรียนในระดับมหาวิยาลัยเริ่มต้นตั้งแต่อนุบาล มันทำให้เกิดค่านิยม ที่เด็กต้องผ่านการสัมภาษณ์ ก่อนที่จะได้เข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลที่มีชื่อเสียง
การดำเนินชีวิตมันไม่ได้เป็นแบบเส้นตรง มันควรเป็นธรรมชาติ เราไม่สามารถทำนายผลลัพธ์การเรียนรู้การพัฒนาของคนได้ การได้เข้าเรียนในชั้นมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่างานที่เราทำอยู่ตอนนี้ อีก 20 ปีข้างหน้ามันจะยังมีอยู่หรือเปล่า
หลักสูตรเร่งรัด
เราปล่อยให้ระบบการศึกษาเป็นไปแบบ Fast Food Model และเราต่างก็รู้ดีว่าอาหาาร Fast Food มันทำให้ร่างกายแย่ลง
ระบบการศึกษาแบบ Fast Food หรือ Franchise หรือหลักสูตรมาตรฐานที่เน้นการเตรียมความพร้อมของเด็ก มันไม่ควรที่จะนำมาใช้ สิ่งที่ดีที่สุดที่ใช้ได้ผลกับคนในสังคมหนึ่ง มันไม่ได้หมายความว่าเราจะนำมาใช้ แล้วหวังว่ามันจะได้ผลดีในสังคมของเรา
โรงเรียนแต่ละแห่งควรจะปรับหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับความสามารถและความสนใจเฉพาะของเด็กแต่ละคน ควรที่จะพัฒนาหลักสูตรเอง โดยเน้นไปที่การให้ความช่วยเหลือเด็ก ปรับให้มันเข้ากับเด็กแต่ละคน ให้เค้าได้ค้นหาและพัฒนาความสามารถเฉพาะตัวที่ซ่อนอยู่ ให้เค้าได้สร้างตัวตนและภูมิใจในความสามารถนั้น เติมเต็มจิตวิญญาณของเด็ก
สรุป
ถ้าจะให้สังคมมีความหลายหลายของเด็กที่มีความสามารถเฉพาะตัว เราต้องเปลี่ยนมุมมองต่อความสามารถของมนุษย์ มองออกไปให้กว้างไกลมากกว่านี้ เหมือนที่เกษตรกรเตรียมดินไว้ปลูกพืช เราก็ควรเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับบุคลิกความสามารถเฉพาะตัวของเด็ก ทำให้เค้าเติบโตและประสบผลสำเร็จ