การพัฒนาตนเอง

หัวใจมักง่าย Path of least resistance ทฤษฎีของความมักง่าย ที่ใช้พลังงานน้อยที่สุด

มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความมักง่าย นั่นคือ Principle of least effort ที่ใช้อธิบายได้ตั้งแต่ทางชีววิทยา ไปจนถึงการออกแบบเว็บ ใช้อธิบายพฤติกรรมของคนและสัตว์ นอกจากนั้นยังใช้ได้กับการออกแบบระบบ หรือเครื่องจักรกลด้วย ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวเรา เช่น เรามักจะใช้ Google สำหรับค้นหาข้อมูลในเว็บ เพราะเรารู้สึกว่ามันใช้งานง่ายกว่า และพอเราได้ผลลัพธ์ที่เราพอใจแล้ว เราก็ไม่ไปลองใช้ Search Engine ตัวอื่นๆ

หัวใจมักง่าย

ในสถานการณ์ที่เรามีทางเลือกหลายๆ ทาง เรามักจะเลือกทางที่ใช้พลังงานน้อยที่สุดไว้ก่อน หรือเลือกทางที่ง่ายที่สุดก่อน เช่นเดียวกับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจรความต้านทานแบบขนาน กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวต้านทานที่มีค่าน้อย ได้มากกว่า ตัวต้านทานที่มีค่ามากกว่า

วิวัฒนาการ

งานวิจัยล่าสุดจาก University of College London study ค้นพบว่าสมองเรารู้ว่าทางเลือกแต่ละทางต้องทำอะไรบ้าง แยะแค่ไหน และลวงให้เราเลือกทำในสิ่งที่ง่าย หรือสรุปได้ว่าทำให้เรามักง่ายนั่นเอง สิ่งนี้เกิดจากการที่มนุษย์เราวิวัฒนาการมานานมากๆ Optimize การตัดสินใจเพื่อหาอาหารและเพื่อความอยู่รอด โดยเลือกที่จะทำแค่สิ่งที่จำเป็น เพื่อรักษาพลังงานที่มีจำกัด

Our brain tricks us into believing the low-hanging fruit really is the ripest—Dr Nobuhiro Hagura

เวลาที่เราคิดหรือทำอะไรสักอย่าง เรามักจะเลือกทางที่ง่ายหรือเดิมๆ ก่อนเสมอ โดยที่เราไม่รู้ตัว สมองของเราจะรู้เลยว่า สิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เรากำลังจะทำอยู่นั้น เราเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนั้นมาแล้ว ทำให้ถึงแม้เราจะมีความรู้หรือมีศักยภาพมากเท่าไหร่ แต่สมองเราก็ยังชี้นำให้เราทำแต่สิ่งที่ง่ายและเดิมๆ ก่อนเสมอ ทำให้ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเรา

If you always do what is easy and choose the path of least resistance, you never step outside your comfort zone. Great things don’t come from comfort zones.―Roy Bennett

การตัดสินใจของเราแทบจะทุกอย่างไม่ว่าจะด้วยอารมย์หรือตรรกะ จะเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่เราเคยผ่านมาเสมอ การที่เราเลือกทางเดินที่ง่ายเพราะเราไม่ต้องการให้เกิดความสับสน ไม่อยากให้เกิดความผิดพลาด ไม่อยากรู้สึกแตกต่าง หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสิ่งแปลกใหม่ หลีกเลี่ยงปัญหา หรือการที่ต้องตัดสินใจในสถานการณ์ที่เราไม่คุ้นเคย เรามักจะทำอะไรตรงไปตรงมา เลือกทางที่ง่ายๆ เข้าไว้ หรือขอเลือกทำแบบเดิมๆ เรามักเลือกที่จะทำน้อยๆ หรือจำเป็น เพื่อให้ได้งานตามที่สั่งหรือเป้าหมายที่วางไว้ สมองที่วิวัฒนาการมานับแสนปีนี่มันช่างสุดยอดจริงๆ

การที่เราเลือกทางง่ายๆ หรือทางเดิม โดยที่เราไม่รู้ตัว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราก็จะได้ผลลัพธ์แบบเดิมๆ ได้รับประสบการณ์เดิมๆ ซึ่งมันอาจจะเป็นสิ่งที่ดี แต่มันก็อาจเป็นสิ่งที่แย่ได้ด้วย การที่เราคิดอะไรแต่ในมุมมองเดิมๆ ทำให้เราไม่นึกถึงทางเลือกอื่นๆ เลย ทำให้เราเสียโอกาสที่จะได้ทำบางอย่างที่มันให้ผลที่ดีกว่า

Comfort Zone

มันไม่ผิดหรอกที่เราจะเลือกทางเดินที่ง่ายๆ แต่เราไม่ควรตั้งค่าการตัดสินใจของเราให้ Default เป็นทางที่ง่ายที่สุด หรือที่เราเลือกใช้ล่าสุด ลองฝืนดูบ้าง ลองนึกถึงลองพยายามหาทางอื่นๆ ดูบ้าง วิธีง่ายๆ ที่ใช้ได้ในระยะเวลาสั้นๆ อันหนึ่งคือ ให้ลองคิดว่าถ้าเป็นคนอื่นล่ะ ถ้าไม่ใช่เราในสถานการณ์แบบเดียวกัน จากประสบการณ์ที่ต่างกัน เค้าจะตัดสินใจยังไง

ส่วนในระยะยาว การที่เราจะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดหรือการตัดสินใจได้นั้น มันต้องเกิดจากการเรียนรู้ หรือง่ายๆ คือการเพิ่มประสบการณ์เข้าไปให้สมองได้เลือกใช้มากขึ้น แต่ต้องระวังนิดนึง เพราะการที่เรามีตัวเลือกมากขึ้น ก็อาจเป็นปัญหาตามมา เพราะเราจะตัดสินใจได้ช้าลงกว่าเดิม ตามกฎ Hick’s law

ดังนั้นเราจึงควรหมั่นเผชิญหน้ากับสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย ออกจาก Comfort Zone  ฝึกตัวเราเองให้ชินกับการที่เราต้องเผชิญกับสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย เราว่าในช่วงเริ่มต้น ขอแค่คิดนอกกรอบให้ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องทำนอกกรอบ เอาแค่ให้รู้ว่ามันยังมีทางเลือกอื่นๆ อีก ให้แค่ตระหนักว่ามันยังมีทางเดินอื่นด้วยก็พอ

Two roads diverged in a wood, and I—
I took the one less traveled by,
And that has made all the difference.—Robert Frost

Like what you read? Please share it with your friends so we can get their thoughts!

Next Article

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *